วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลก

พืชพรรณธรรมชาติของโลก





โดยทั่วไปลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลกจะมีความแตกต่างกัน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยการควบคุมหลายอย่าง เช่น  ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ  ลักษณะและสภาพดิน  เป็นต้น  โดยจะมีการจำแนกเขตพืชพรรณธรรมชาติของโลก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-เขตทุ่งน้ำแข็ง เป็นเขตที่ไม่มีพืชชนิดใดขึ้น เนื่องจากมีอากาศหนาวเย็น มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี  ได้แก่ ขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้  และเกาะกรีนแลนด์
-เขตภูเขาสูงและทุนดรา ซึ่งจะมีพืชพรรณธรรมชาติที่พบ เช่น  มอส  สาหร่าย  ตะไคร่น้ำ  และไลเคน  เป็นพืชที่สามารถพบได้ในบริเวณที่มีอากาศหนาวจัดๆ มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดเวลา ส่วนฤดูร้อนจะมีระยะเวลาสั้น  ได้แก่  ภูเขาสูง เช่น  เทือกเขาแอนดีส  เทือกเขาหิมาลัย   บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก  และเกาะกรีนแลนด์ เป็นต้น
-เขตป่าสนตอนเหนือหรือป่าไทกา  โดยจะมีพืชพรรณธรรมชาติที่พบ  ได้แก่  ป่าสน  และป่าไทกา ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในเขตที่มีละติจูดสูงในฤดูหนาว หรือมีอากาศหนาวจัดและยาวนาน  ส่วนฤดูร้อนจะมีระยะเวลาสั้น มีอุณหภูมิไม่สูงมากนัก  ส่วนพื้นดินในฤดูหนาวนั้นจะปกคลุมไปด้วยหิมะ และจะมีน้ำค้างแข็งฝังตัวอยู่ในดิน
-เขตป่าเขตอบอุ่น พืชพรรณธรรมชาติที่พบในเขตนี้  ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตละติจูดกลางอยู่ใต้แนวเขตป่าสน เพราะจะกระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ
-เขตป่าเขตร้อน  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบและป่าไม้ผลัดใบ  ซึ่งประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด แต่จะพบได้มากในบริเวณเส้นศูนย์สูตร  เพราะจะมีอุณหภูมิสูงตลอดปีและจะมีฝนตกชุก
-เขตทุ่งหญ้าอบอุ่น โดยพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้พุ่มเตี้ย และทุ่งหญ้าสั้น  ซึ่งจะพบในบริเวณที่มีฝนตกไม่มาก และไม่แห้งจนถึงกับเป็นทะเลทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในละติจูดกลาง  หรือในเขตทุ่งหญ้าอบอุ่นที่สำคัญ
-เขตทุ่งหญ้าเขตร้อน  หรือทุ่งหญ้าสะวันนา  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นทุ่งหญ้าและพืชทนแล้ง โดยจะพบในบริเวณที่มีฝนตกชุก ในฤดูร้อน และอากาศแห้งแล้งในฤดูหนาว
-เขตทะเลทราย  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติที่พบในเขตนี้  ส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่สามารถเก็บน้ำไว้ในลำต้นได้มาก จึงมีส่วนที่ช่วยป้องกันการระเหย

ลักษณะภูมิอากาศของทวีปแอฟริกา


ภูมิอากาศ

ส่วนใหญ่จะมีทะเลทราย อากาศแห้งแล้ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในทวีป ส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา อยู่บริเวณตอนเหนือและใต้แนวศูนย์สูตร

ลักษณะภูมิอากาศของทวีปยุโรป



เขตอากาศของทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็น 7 เขตดังนี้
  1. เขตภูมิอากาศแบบทุนดรา หรืออากาศแบบขั้วโลก เป็นเขตอากาศที่หนาวเย็นจัดตลอดทั้งปี ส่วนฤดูร้อนสั้นประมาณ 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยของเขตนี้ เฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ มอสส์ ตะไคร่น้ำเขตอากาศทุนดราของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและบริเวณทางเหนือสุดของประเทศรัสเซีย
  2. เขตอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนมีระยะเวลายาวกว่าเขตภูมิอากาศแบบทุนดรา ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ คือ ป่าสนหรือป่าไทกา บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์
  3. เขตอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น เพราะอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางทวีป จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทร พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบผสมกัน ส่วนบริเวณที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติจะเป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ ดินแดนของประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย
  4. เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะของอากาศในเขตนี้ คือ ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด เพราะเขตนี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เขตนี้มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื้น ฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทั้งปีอยู่ที่ 750-1,500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ครอบคลุมบริเวณของประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เยอรมนี สหราชอาณาจักร และทางตอนใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน
  5. เขตภูมิอากาศอบอุ่นชื้น ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ อากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศร้อน มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้เขตอบอุ่นหรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ออสเตรีย และฮังการี
  6. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีแสงแดดตลอดทั้งปี ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวจะมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี พืชพรรรณธรรมชาติเป็นเขตอบอุ่น เรียกว่า ป่าไม้เมดิเตอร์เรเนียน เช่น คอร์กโอ๊ก ส้ม มะนาว องุ่น มีป่าไม้มีหนามแหลม เรียกว่า ป่ามากี (maquis) บริเวณที่มีลักษณะอากาศแบบนี้ คือ บริเวณที่มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศสอิตาลี สเปน โปรตุเกส เซอร์เบีย และกรีซ
  7. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะสำคัญของอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีปริมาณฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าขึ้นเบาบาง

ลักษณะภูมิอากาศของโลก


ภูมิอากาศ
          ลมฟ้าอากาศ (Weather) หมายถึง สภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลา แต่ละสถานที่ ซึ่งแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา

          ภูมิอากาศ (Climate) หมายถึง สรุปลักษณะสภาพลมฟ้าอากาศซึ่งหมุนเวียนไปตามฤดูกาลของแต่ละสถานที่
ภาพที่ 1 แกนของโลกเอียง 23.5° ทำให้เกิดเขตภูมิอากาศ
          จากภาพที่ 1 แสดงถึง แกนของโลกเอียง 23.5° กับระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในวันที่ 21 มิ.ย. โลกหันขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณเหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° เหนือ) ขึ้นไป จะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา ส่วนบริเวณใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° ใต้) ลงมา จะเป็นกลางคืนตลอดเวลา ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกใต้เป็นฤดูหนาว
          หกเดือนต่อมา ในวันที่ 21 ธ.ค. บริเวณใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° ใต้) ลงมา จะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา ส่วนบริเวณเหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° เหนือ) ขึ้นไป จะกลายเป็นกลางคืนตลอดเวลา ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว
          หากโลกเป็นทรงกลมที่สมบูรณ์และมีพื้นผิวราบเรียบ ไม่มีภูเขาหุบเขา ไม่มีทะเลมหาสมุทร และมีองค์ประกอบของพื้นผิวเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีแม้กระทั่งใบไม้ใบหญ้า เราสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศในแต่ละซีกโลกออกเป็น 3 เขต ดังนี้
           เขตร้อน อยู่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ กับเส้นทรอปิคออฟแคปริคอน (ละติจูด 23.5° ใต้) แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมชัน และมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะได้ พื้นที่เขตนี้จึงรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลก            เขตอบอุ่น อยู่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ (ละติจูด 23.5° เหนือ) กับเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° เหนือ) และพื้นที่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคปริคอน (ละติจูด 23.5° ใต้) กับเส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° ใต้) แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมเฉียง แม้ว่าไม่มีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะ แต่ก็ยังได้รับแสงอาทิตย์ตลอดปี           เขตหนาว อยู่เหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° เหนือ) ขึ้นไป และใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° ใต้) ลงมา แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมลาด มีโอกาสได้รับแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวน้อยมาก

          แต่เนื่องจากโลกมิใช่ทรงกลมที่สมบูรณ์ และมีพื้นผิวไม่ราบเรียบ มีทั้งที่ราบ ภูเขา หุบเขา ทะเล มหาสมุทร และถูกปกคลุมด้วยสิ่งปกคลุมและพืชพรรณต่างๆ กัน เราจึงแบ่งเขตภูมิอากาศโลก โดยพิจารณาปัจจัยที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ ดังนี้ 
           ความเข้มของแสงแดด ซึ่งแปรผันตามละติจูด แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวบริเวณศูนย์สูตรเป็นมุมชันกว่าบริเวณขั้วโลก ความเข้มของแสงจึงมากกว่า ประกอบกับแสงอาทิตย์เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศบริเวณศูนย์สูตร เป็นระยะทางสั้นกว่าผ่านชั้นบรรยากาศบริเวณขั้วโลก เพราะฉะนั้นยิ่งละติจูดสูงขึ้นไป ความเข้มของแสงแดดยิ่งน้อย อุณหภูมิยิ่งต่ำ            การกระจายตัวของแผ่นดิน และมหาสมุทร พื้นดินและพื้นน้ำมีความสามารถดูดกลืนและคายความร้อนไม่เท่ากัน จึงมีผลต่อความกดอากาศ ตลอดจนทิศทางและความเร็วลม
ท กระแสน้ำในมหาสมุทร กระแสน้ำมีความสัมพันธ์กับกระแสลมผิวพื้น อุณหภูมิของน้ำทะเลมีผลต่ออุณหภูมิและความชื้นของอากาศ กระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นจึงมิอิทธิพลต่ออุณหภูมิของอากาศผิวพื้นโดยตรง
           กระแสลมจากมหาสมุทร ลมเป็นตัวถ่ายเทความร้อนของบรรยากาศ กระแสลมในมหาสมุทรสามารถหอบเอาไอน้ำจากมหาสมุทร มาทำความชุ่มชื่นให้กับตอนในของทวีป            ตำแหน่งของหย่อมความกดอากาศต่ำ และหย่อมความกดอากาศสูง เป็นตัวกำหนดการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งแนวดิ่งและแนวตั้ง ความกดอากาศต่ำทำให้เกิดเมฆและหยาดน้ำฟ้า ความกดอากาศสูงทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แรงเกรเดียนความกดอากาศซึ่งเกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ ทำให้เกิด
กระแสลม
           เทือกเขา เป็นกำแพงขวางกั้นทิศทางลม เมื่อลมปะทะกับเทือกเขาจะเกิดการยกตัวของกลุ่มอากาศ และเกิดการควบแน่นเป็นเมฆและหยาดน้ำฟ้า ทำให้ด้านหน้าของเทือกเขามีความชุ่มชื้น อากาศแห้งจมลงด้านหลังเขา เกิดเป็นเขตเงาฝนที่แห้งแล้ง           ระดับสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงขึ้นอุณหภูมิยิ่งต่ำลง ณ ตำแหน่งละติจูดเดียวกัน พื้นที่สูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ราบ
การจำแนกภูมิอากาศโลก
          ในปี ค.ศ.1918 วลาดิเมียร์ เคิปเปน (Vladimir Kóppen) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มัน ได้จำแนกภูมิอากาศโลกโดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนและปริมาณหยาดน้ำฟ้า โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้
          A    ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ทุกเดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C ไม่มีฤดูหนาว
          B    ภูมิอากาศแห้ง อัตราการระเหยของน้ำมากกว่าหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา
          C    ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นแถบละติจูดกลาง ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C
          D    ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C
          E    ภูมิอากาศขั้วโลก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดต่ำกว่า 10°C
          H    ภูมิอากาศแถบภูเขาสูง เป็นลักษณะภูมิอากาศหลายแบบรวมกัน ตามระดับสูงของภูเขา (กำหนดโดยนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมา)
ภูมิอากาศแถบร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร (Tropical Moist Climates) : A
          เป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น ทุกๆ เดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 18°C และมีฝนตกมากกว่า 150 เซนติเมตร กลางวันมีอุณหภูมิเฉลี่ย 32°C กลางคืนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22°C กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก เนื่องจากอยู่ในแนวปะทะอากาศเขตร้อน (ITCZ) จึงมีการก่อตัวของเมฆคิวมูลัส และเมฆคิวมูโลนิมบัส ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองในช่วงบ่ายและเย็น สภาพอากาศจะสงบท้องฟ้าใสหลังจากที่ฝนตกลงมา เนื่องจากความชื้นสูงมีไอน้ำในอากาศจำนวนมาก จึงมักมีการควบแน่นเกิดน้ำค้างและหมอกปกคลุมพื้นดินเวลากลางคืน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,500 มิลลิเมตรต่อปี
ภาพที่ 2 ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร
          พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° เหนือ - 25° ใต้ ได้แก่ ลุ่มน้ำอเมซอนในประเทศบราซิล ลุ่มน้ำคองโกในตอนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย พื้นที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าฝนเขตร้อน (Tropical rain forest) มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ป่าฝนเขตร้อนมีพื้นที่เพียง 7% ของโลก แต่มีสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
ภูมิอากาศแห้ง (Dry Climates) : B
          เป็นบริเวณที่อากาศแห้ง ปริมาณการระเหยของน้ำมากกว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวมีความเข้มแสงมากกว่า 90% กลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 38°C (50° ในช่วงฤดูร้อน) กลางคืนอาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (-15°C ในช่วงฤดูหนาว) กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิต่างกันมาก ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเพียงประมาณ 5 เซนติเมตร บางปีอาจไม่มีฝนตกเลย
ภาพที่ 3 ภูมิอากาศแห้ง
          พื้นที่ในเขตนี้กินอาณาบริเวณถึง 30% ของพื้นทวีปทั้งหมดของโลก อยู่ระหว่างละติจูดที่ 20° - 30° เหนือและใต้ โดยมากจะเป็นทะเลทรายบนที่ราบซึ่งห้อมล้อมด้วยเทือกเขา ได้แก่ ทะเลทรายซาฮาร่าในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ทะเลทรายโกบีในประเทศจีน มีความแห้งแล้งเนื่องจากอยู่ในบริเวณแถบความกดอากาศสูงกึ่งศูนย์สูตร ซึ่งเกิดจากมวลอากาศแห้งปะทะกันแล้วจมตัวลง

ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นแถบละติจูดกลาง (Moist subtropical mid-lattitude climate) : C
          เป็นบริเวณที่ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก เพราะว่ามีอากาศชื้นตลอดทั้งปีเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใกล้ทะเลและมหาสมุทร อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C แบ่งย่อยออกเป็น
ภาพที่ 4 ภูมิอากาศแถบละติจูดกลาง
           ภูมิอากาศแถบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่รอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และตอนเหนือของทวีปยุโรป เป็นเขตที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณเป็นพุ่มเตี้ย มักเกิดไฟป่าในช่วงฤดูร้อน และมีฝนตกในช่วงฤดูหนาว           ภูมิอากาศแถบอบอุ่น (Temperate climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° - 40° เหนือ ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนกลาง และซีกตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน เป็นบริเวณที่ฤดูกาลทั้งสี่มีความแตกต่างอย่างเด่นชัด ปริมาณน้ำฝนในรอบปีประมาณ 500 - 1,500 มิลลิเมตร
ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป (Humid continental climates) : D
          ลมเวสเทอลีส์พัดมาจากมหาสมุทรทางด้านตะวันตก นำความชื้นเข้ามาสู่ภาคพื้นทวีปซึ่งอยู่ตอนใน เนื่องจากอยู่ในเขตละติจูดสูง อากาศจึงหนาวเย็นในช่วงฤดูร้อน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C) และมีสภาพอากาศรุนแรงในช่วงฤดูหนาว อากาศหยาวเย็นปกคลุมนานถึง 9 เดือน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C) ซึ่งทำให้น้ำแข็งจับตัวภายในดิน ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ช้า
ภาพที่ 5 ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป
          พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอยู่ระหว่างละติจูดที่ 40° - 60° เหนือ ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ในแถบความกดอากาศต่ำกึ่งขั้วโลก แนวปะทะอากาศขั้วโลกทำให้เกิดการยกตัว ทำให้เกิดการควบแน่นของหยาดน้ำฟ้าช่วยให้พื้นดินมีความชื้น (หมายเหตุ: ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีปไม่มีในเขตซีกโลกใต้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของละติจูดนี้ในซีกโลกใต้ ส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร ไม่มีพื้นทวีปขนาดใหญ่)

ภูมิอากาศขั้วโลก (Polar Climates) : E
          มีอากาศแห้ง ลมแรง และหนาวเย็นตลอดทั้งปี ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดน้ำแข็งเพียงแค่ 2-4 เดือน (ต่ำกว่า 10°C) มีฤดูหนาวที่ยาวนาน และมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°เหนือ) ขึ้นไป และใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°ใต้) ลงมา บริเวณใกล้กับขั้วโลกเช่น           เกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกมีแผ่นน้ำแข็งถาวรหนาหลายร้อยเมตรปกคลุม พื้นมหาสมุทรเต็มไปด้วยภูเขาน้ำแข็ง พื้นทวีปในส่วนที่ห่างไกลจากขั้วโลก น้ำในดินแข็งตัวอย่างถาวร พืชส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ มีแต่หญ้าและป่าสน
ภาพที่ 6 ภูมิอากาศขั้วโลก
ภูมิอากาศแถบภูเขาสูง (Highland Climates) : H
          เป็นลักษณะภูมิอากาศหลายแบบรวมกันขึ้นอยู่กับระดับสูงของพื้นที่ บนยอดเขาสูงมีความหนาวเย็นคล้ายคลึงกับภูมิอากาศขั้วโลก หากแต่มีความชื้นสูงซึ่งเกิดจากอากาศยกตัวและควบแน่น สภาพลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภูมิอากาศแบบนี้ปกคลุมพื้นที่เล็กๆ ตามเทือกเขาสูงของโลก เช่น เทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา
          ในทวีปอเมริกาเหนือ และเทือกเขาแอนดิสในทวีปอเมริกาใต้ ชนิดของพืชพรรณตามไหล่เขา เปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศซึ่งแตกต่างกันทุกๆ ระยะสูงที่เพิ่มขึ้น 300 เมตร เช่น บริเวณตีนเขาอาจเป็นไม้ผลัดใบ สูงขึ้นมาเป็นป่าสน และไม้แคระ ยอดเขาปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง
ภาพที่ 7 ภูมิอากาศแถบภูเขาสู

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอฟริกา


แอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปทางตอนเหนือ และมีคลองสุเอซเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียทางตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป
  1. เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 แนว
    1. เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
    2. เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
  2. ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
    1. ทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายซาฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก'
    2. เขตทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบและทะเลทรายคาลาฮารี
  3. แม่น้ำ
    1. แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    2. แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
    3. แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
    4. แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก

กระแสน้ำในมหาสมุทร

1. กระแสน้ำเย็นคะเนรี

2. กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม

3. กระแสน้ำอุ่นโซัมบิก

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชีย



เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ


เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ระหว่างแม่น้ำอ็อบกับแม่น้ำเยนีเซย์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่สะดวก ลำน้ำและพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก

เขตภูเขาและที่ราบสูง (หินใหม่) กระจายตัวออกไป 3 ทาง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบางส่วนยาวไปถึงประเทศตุรกีซึ่งอยู่บนคาบสมุทรอานาโตเลีย

เขตที่ราบสูงเก่า

ที่ราบสูงเก่าของทวีปเอเชียมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแผ่นดินหินของเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ ประกอบด้วยที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Plateau) ในคาบสมุทรอินเดีย และที่ราบสูงอาหรับ (Arabian Plateau) ในคาบสมุทรอาหรับ ลักษณะของที่ราบสูงทั้งสองมีดังนี้
  • ที่ราบสูงเดกกัน เกิดจากการที่แผ่นดินส่วนหนึ่งจากทวีปแอนตาร์กติกาเคลื่อนตัวมาชนกับแผ่นทวีปเอเชียจนทำให้เกิดเป็นภูเขาขึ้นมาทางด้านแนวชนที่เกิดขึ้น จากตะกอนทะเลทำให้เกิดเป็นเทือกเขาหินสูงตระหง่านที่ชื่อ "หิมาลัย"
  • ที่ราบสูงอาหรับ เกิดจากการที่หินใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัว ทำให้เกิดแนวหุบเหวลึกจนกลายเป็นทะเลแดงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังปรากฏภูมิประเทศแบบทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ โดยเฉพาะในดินแดนของประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นต้น

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรป



ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่ ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของเกาะอังกฤษ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
  1. เขตที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบที่อยู่ระหว่างที่ราบกับเขตเทือกเขา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางของทวีป มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 25 ของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ภาคใต้ของเยอรมนีและโปแลนด์
  2. เขตเทือกเขาแบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
  • เทือกเขาภาคเหนือ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เทือกเขาแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในสกอตแลนด์ เวลส์ และเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งมีขนาดเตี้ยและเกิดขึ้นมานานแล้ว
  • เทือกเขาภาคใต้ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเทือกเขานี้มีขนาดสูงและยังเป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบดี จึงเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อยๆ