เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ
เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ระหว่างแม่น้ำอ็อบกับแม่น้ำเยนีเซย์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่สะดวก ลำน้ำและพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก
เขตภูเขาและที่ราบสูง (หินใหม่) กระจายตัวออกไป 3 ทาง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบางส่วนยาวไปถึงประเทศตุรกีซึ่งอยู่บนคาบสมุทรอานาโตเลีย
เขตที่ราบสูงเก่า
ที่ราบสูงเก่าของทวีปเอเชียมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแผ่นดินหินของเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ ประกอบด้วยที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Plateau) ในคาบสมุทรอินเดีย และที่ราบสูงอาหรับ (Arabian Plateau) ในคาบสมุทรอาหรับ ลักษณะของที่ราบสูงทั้งสองมีดังนี้
- ที่ราบสูงเดกกัน เกิดจากการที่แผ่นดินส่วนหนึ่งจากทวีปแอนตาร์กติกาเคลื่อนตัวมาชนกับแผ่นทวีปเอเชียจนทำให้เกิดเป็นภูเขาขึ้นมาทางด้านแนวชนที่เกิดขึ้น จากตะกอนทะเลทำให้เกิดเป็นเทือกเขาหินสูงตระหง่านที่ชื่อ "หิมาลัย"
- ที่ราบสูงอาหรับ เกิดจากการที่หินใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัว ทำให้เกิดแนวหุบเหวลึกจนกลายเป็นทะเลแดงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังปรากฏภูมิประเทศแบบทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ โดยเฉพาะในดินแดนของประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นต้น
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ
- แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม แม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า เป็นต้น
- แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียใต้ ได้แก่ แม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย แม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถาน แม่น้ำแม่น้ำพรหมบุตรพรหมรในประเทศบังกลาเทศ เป็นต้น
- แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น